มาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
การขับรถอย่างปลอดภัยขึ้นอยู่กับความรู้ 5 ประการ หรือหลัก 5 "ร"
1. รอบรู้เรื่อง "รถ"
ขับขี่เป็นอย่างดี หมั่นตรวจตรา
แก้ไขข้อ บกพร่องอยู่เสมอ โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนออกเดินทางไกลควรจะได้ ตรวจอุปกรณ์เพื่อความ
ปลอดภัยที่สำคัญ ๆ
(1) เครื่องยนต์
(2) ห้ามล้อ
(3) ยาง
(4) น็อตบังคับล้อ
(5) พวงมาลัย
(6) ที่ปัดน้ำฝน
(7) กระจกส่องหลัง
(8) ไฟ
2. รอบรู้เรื่องทาง
3. รอบรู้เรื่องวิธีขับรถ
4. รอบรู้เรื่องกฎจราจร
5. รอบรู้เรื่องมารยาทในการขับรถ
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย
หลักการตรวจสภาพรถยนต์เบื้องต้น เพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง
- ตรวจระบบไฟส่องสว่างทั้งหมด
- ตรวจสภาพยางรถยนต์ และเช็กลมยาง
- ตรวจระบบแตร
- ตรวจยางใบปัดน้ำฝน
- ระดับน้ำมัน (น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเบรก และน้ำมันพวงมาลัย)
- ระดับน้ำในหม้อน้ำและถังพักน้ำ
- ระดับน้ำกรดของแบตเตอรี่
- ระดับน้ำล้างกระจก (ทั้งหมดนี้จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด)
- ตรวจห้องโดยสาร
- เข็มขัดนิรภัย
- แป้นเบรก แป้นคลัตช์ และเบรกมือ
- มาตรวัดต่าง ๆ
- ตรวจห้องเก็บสัมภาระ
- ยางอะไหล่ (ต้องมีพร้อม)
- เครื่องมือประจำรถ (เช่น เครื่องมือเปลี่ยนยาง)
- ตรวจสภาพยางรถยนต์ และเช็กลมยาง
- ตรวจระบบแตร
- ตรวจยางใบปัดน้ำฝน
- ระดับน้ำมัน (น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเบรก และน้ำมันพวงมาลัย)
- ระดับน้ำในหม้อน้ำและถังพักน้ำ
- ระดับน้ำกรดของแบตเตอรี่
- ระดับน้ำล้างกระจก (ทั้งหมดนี้จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด)
- ตรวจห้องโดยสาร
- เข็มขัดนิรภัย
- แป้นเบรก แป้นคลัตช์ และเบรกมือ
- มาตรวัดต่าง ๆ
- ตรวจห้องเก็บสัมภาระ
- ยางอะไหล่ (ต้องมีพร้อม)
- เครื่องมือประจำรถ (เช่น เครื่องมือเปลี่ยนยาง)
ความรู้ในการขับรถที่เสี่ยงต่ออันตราย
หมายถึงการขับรถบนถนนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถนนลื่น ขึ้นลงเขา หรือขับรถทางไกล ซึ่งผู้ขับขี่ควรมีความรู้ต่างๆ ดังนี้
1. ขับรถขณะฝนตกถนนลื่น ควรชะลอความเร็วรถให้ช้าลงกว่าปกติและทิ้งระยะห่างจากคันหน้าให้มากขึ้น ถ้าขับรถอยู่บนทางที่ให้รถขับสวนกันก็ควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อเตือนให้รถที่ วิ่งสวนมามองเห็น เวลาจะหยุดรถควรใช้เกียร์ช่วย ไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหันหรือหักพวงมาลัยรถอย่างฉับพลัน เพราะอาจทำให้รถปัดหรือหมุนได้
2. การขับรถขึ้น-ลงเขาสูง เวลาขับรถขึ้นเขาควรใช้เกียร์ต่ำที่มีกำลังพอ เพราะถ้าเครื่องยนต์ไม่มีกำลังพอจะทำให้รถดับได้ ถ้ารถดับและไหลลงจากเขาต้องเหยียบเบรกและใช้เบรกมือช่วย ส่วนเวลาลงเขาก็ควรใช้เกียร์ต่ำเช่นกันเพื่อฉุดกำลังไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป หรือคอยประคองรถด้วยการเหยียบเบรกชะลอให้รถช้าพอที่จะบังคับได้
3. การขับรถทางไกล ในบางครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถทางไกล ซึ่งอาจมีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้ ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตนดังนี้
ก. ตรวจสภาพและอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนออกเดินทาง ดังนี้
- ตรวจช่วงล่าง คันส่งคันชักพวงมาลัย
- ตรวจยางทั้งสี่ล้อ และยางอะไหล่ด้วย ยางไม่มีดอกควรเปลี่ยน นอตล้อขันแน่นหรือไม่ วัดลมยางทั้งสี่ล้อให้ได้ขนาดเหมาะสมกับรถ และควรมีที่วัดลมยางติดไปด้วย
- เตรียมแม่แรงประจำรถ เหล็กขันแม่แรงและกุญแจขันแม่แรง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าใช้การได้หรือไม่
- ตรวจระบบเบรก ผ้าเบรก น้ำมันเบรก และตรวจเบรกมือว่าใช้การได้ดีหรือไม่
- ตรวจระบบเครื่องยนต์ ลองสตาร์ตเครื่องว่าเดินเรียบหรือไม่ ถ้าเครื่องเดินไม่เรียบอาจต้องเปลี่ยนหัวเทียนหรือทองขาว
- ตรวจดวงไฟหน้าทั้งสองดวง รวมถึงไฟทุกดวงของรถ ต้องสว่างเพียงพอและให้การได้ดีทุกดวง ปรับไฟสูง-ไฟต่ำให้ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ ถ้าหลอดขาดหรือฟิวส์ขาดให้เปลี่ยน
- ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ น้ำในหม้อน้ำ (รังผึ้ง) ถ้าหม้อน้ำแห้งหรือทางเดินของน้ำหมุนเวียนอุดตัน เครื่องยนต์จะร้อน สังเกตได้จากหน้าปัดวัดความร้อน อาจทำให้เสื้อสูบแตกหรือชาร์จละลาย
- ตรวจน้ำล้างกระจก ท่อฉีดน้ำกระจกต้องไม่อุดตัน ที่ปัดน้ำฝนยังใช้การได้ดี
- ตรวจน้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่องจะต้องเปลี่ยนทุก 5,000-10,000 กิโลเมตร
- ตรวจน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอหรือไม่ และไส้หม้อกรองน้ำมันเชื้อเพลิงต้องสะอาด ซึ่งจะต้องเปลี่ยนทุก 10,000- 20,000 กิโลเมตร น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเติมให้ค่าออกเทนตรงกับสภาพรถ ซึ่งสามารถสอบถามได้ตามสถานีบริการน้ำมันต่างๆ
- ตรวจระบบแตรว่าใช้การได้ดีหรือไม่
- ตรวจระบบแอร์ ถ้าน้ำยาแอร์ไม่พอ แอร์จะไม่เย็น โดยดูจากช่องดูน้ำยาแอร์ใกล้ๆ กับคอมเพรสเซอร์ของแอร์ จะมีฟองอากาศและให้ตรวจ ดูสายพานแอร์ว่าหย่อนหรือชำรุดหรือไม่ และให้ตรวจดูสายพานแอร์ว่า
- ตรวจการรั่วไหลของน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นต่างๆ
- นำรถไปอัดฉีดจาระบีล้อ เติมน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย
หมวกนิรภัย ความปลอดภัยของผู้ใช้จักรยานยนต์
หมวกนิรภัย
ปัจจุบันรถจักรยานยนต์จัดเป็นพาหนะที่ประชาชนให้ความนิยมกันอย่างมากในการเดินทางสัญจรเนื่องจากมีราคาถูก ขับขี่ง่าย สะดวก ประหยัดนํ้ามัน และมีความคบ่องตัวในการใช้งาน แต่อันตรายของอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ก็สูงมากเช่นกัน ดังคำพูดที่ว่า "เนื้อหุ้มเหล็ก" ไม่บาดเจ็บก็ตาย เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ขับขี่และผู้โดยสารมักจะพุ่งลอยไปข้างหน้า โอกาสที่ศีรษะจะกระแทกวัตถุข้างหน้ามีมากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ที่ส่งผลให้เกิดความพิการและอันตรายต่อชีวิตได้ หมวกนิรภัย เป็นอุปกรณ์สำคัญในการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะได้เป็นอย่างดีจากสถิติพบว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยจะได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะมากกว่าผู้ที่สวมหมวกนิรภัยถึง 2-3 เท่า
ประเภทของหมวกนิรภัย
1. หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า เป็นหมวกเต็มใบเปิดช่องตรงหน้า ตำแนห่งตาเท่านั้น มีส่วนป้องกันปากและคางด้านหน้า
2. หมวกนิรภัยแบบเต็มศีรษะ เป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาถึงปลายคางและมีสายรัดคาง
3. หมวกนิรภัยแบบครึ่งศีรษะ เป็นรูปครึ่งทรงกลม ปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู คลุมได้ครึ่งศีรษะ มีสายรัดคาง หมวกชนิดนี้สามารถป้องกันได้เฉพาะศีรษะส่วนบนเท่านั้น
การเลือกใช้หมวกนิรภัย
1. ควรใช้หมวกนิรภัยที่มีเครื่องหมายรับรองมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2. เลือกขนาดของหมวกให้พอดีกับขนาดของศีรษะโดยการทดลองสวมหมวกนิรภัย คาดสายรัดคางให้แน่นและทดลองโดยการผลักหมวกไปทางด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าหมวกเลื่อนขึ้นไปจนถึงกลางศีรษะหรือมากกว่านั้นควรเปลี่ยนขนาดของหมวกใหม่ให้พอดี
3. เลือกหมวกนิรภัยที่มีสีสันสดใส เพื่อช่วยให้คนขับรถอื่นๆ มองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะกลางคืน
4. ควรเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่ทุก 3-5 ปี เนื่องจากมีการ เสื่อมอายุการใช้งานหรือหมวกที่เคยได้รับการกระแทกมาแล้ว ควรเปลี่ยนหมวกใหม่เช่นกัน "เพื่อความปลอดภัย สวมหมวกนิรภัยที่ขับขี่"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น